
จากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงอีเมลล์มาร์เก็ตติ้งว่าเราควรจะเขียนอีเมลล์ของเราอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ทางการตลาดต่างๆ โดยเราได้พูดถึงอีเมลล์ประเภท Information Email กันไปแล้วในตอนที่ 1 (ใครยังไม่ได้อ่านตอนแรกตามไปอ่านที่นี่ได้เลยค่ะ >> คลิก) สำหรับครั้งนี้เราจะมาพูดถึงอีเมลล์แบบ Transactional Emails หรืออีเมลล์ธุรกรรมที่จะมีลักษณะพิเศษคือการเป็นอีเมลล์แบบ one-to-one ที่ส่วนใหญ่จะส่งจากระบบอีเมลล์อัตโนมัติไม่สามารถตอบกลับได้ เพราะเป็นอีเมลล์ที่ถูกตั้งผ่านระบบไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น อีเมลล์ยืนยันการสั่งซื้อ และยืนยันการสมัครสมาชิกต่างๆ
มาดูกันเลยค่ะว่า เคล็ดลับการเขียนอีเมลล์ลักษณะนี้มีอะไรบ้าง ?
อีเมลล์สำหรับคอนเฟริมสินค้าและบริการต่างๆ
มันคงเป็นเรื่องไม่ดีแน่ๆ ถ้าหากว่ามีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าบริการหรือสมัครบริการอะไรกับเราสักอย่าง แต่ไม่ได้รับการตอบรับอะไรเลย คิดแบบง่ายๆ โดยใช้ตัวเราเป็นคนวัดก็ได้ค่ะ หากเราไปสั่งซื้อหนังสือสักเล่ม แต่ยังไม่ได้รับอีเมลล์ยืนยันรายการสั่งซื้อสินค้า เราก็คงไม่อยากโอนเงินขำระค่าสินค้าอย่างแน่นอน สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าไม่มีใครอยากจะมากังวลกับเงินที่เสียไปว่าสุดท้ายคำสั่งซื้อของเรานั้นจะเสร็จสมบูรณ์และทางร้านค้าได้รับรายการสั่งซื้อของเราหรือไม่ รวมถึงต้องมานั่งกังวลว่าเราจะได้ของหรือเปล่าด้วย ดังนั้นอีเมลล์ยืนยันรายการต่างๆ จึงถือได้ว่าเป็นอีเมลล์ที่สำคัญเป็นอย่างแรกเลยค่ะ ที่จะช่วยให้ลูกค้าได้รับความมั่นใจจากการซื้อสินค้าและบริการของเรา ไม่มีไม่ได้เด็ดขาดเลย
ที่นี้มาดู 2 สิ่งสำคัญที่ต้องมีในอีเมลล์ยืนยันสินค้ากันค่ะ
สิ่งแรกเลยที่ต้องมีก็คือ หัวข้ออีเมลล์ที่ชัดเจน เขียนตรงๆ ไปเลยค่ะว่าเป็นการยืนยันรายการสั่งซื้ออะไร หรือเป็นการยืนยันสำหรับการสมัครสมาชิกอะไร และสิ่งต่อมาที่ต้องมีคือรายละเอียดสินค้าและบริการที่ลูกค้าสั่งซื้อ ,ราคา และวิธีการชำระเงินค่ะ
สุดท้าย ระมัดระวังอย่าเขียนอีเมลล์ในแบบที่จะก่อให้เกิดความสับสนกับลูกค้าได้ สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการเขียนด้วยรูปแบบพื้นฐานง่ายๆ โดยกล่าวถึงรายละเอียดรายการสินค้าและวิธีการชำระเงินก็พอ ไม่ควรจะเขียนอะไรที่มากไปกว่านี้ค่ะ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คือไม่จำเป็นต้องออกแบบอีเมลล์ให้ดูยุ่งยากเกินไป ใช้แค่รูปแบบง่ายๆ พื้นฐาน ไม่ต้องโหลดเยอะหรือโหลดนาน เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้รับอีเมลล์เหล่านี้ไม่ได้ต้องการความสวยงามค่ะ แต่พวกเขาต้องการรายละเอียดที่ครบถ้วนและชัดเจน เพื่อที่ว่าจะทำให้พวกเขาตัดสินใจชำระค่าสินค้าได้อย่างมั่นใจ
ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ
![มาดู! รูปแบบอีเมลล์ ที่ควรนำมาใช้ในการตลาดของคุณ [ตอนที่ 2] Confirmation-Email](https://d2rjtu45jheymt.cloudfront.net/wp-content/uploads/2016/06/11002637/Confirmation-Email.jpg)
อีเมล์ขอบคุณสำหรับการกดรับสมัครต่างๆ
การรับสมัครอะไรก็ตามจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครรับข่าวสารโดยกรอกแบบฟอร์มเพื่อพาไปยังหน้า landing pages หรือการกดติดตามจากช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือปุ่มต่างๆ อย่าลืมที่จะส่งอีเมลล์ไปเพื่อขอบคุณกลุ่มคนที่มาติดตามข่าวสารต่างๆ จากแบรนด์ของเราด้วยนะคะ เพราะอีเมลล์ลักษณะนี้ถือว่ามีความสำคัญและมีประโยชน์มากในการใช้ตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการหรือรับสมัครข่าวสารของเรา และทำให้อีเมลล์ของเราได้ถูกจัดเก็บไว้ใน inbox ของกลุ่มเป้าหมายด้วยค่ะ
อย่างไรก็ตามการได้รายชื่อเหล่านี้มานั้นมีวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแจก E-book, ไฟล์ PDF หรือของดาวน์โหลดฟรีต่างๆ ที่เรามีให้ สิ่งสำคัญสำหรับการทำอีเมลล์แบบนี้ คือ หากเรามีปุ่มหรือลิ้งค์ให้ผู้รับกดต่อ ควรทำให้ใหญ่และชัดเจนโดดเด่นมากพอค่ะ ต้องให้ความใส่ใจไว้เสมอว่าปุ่มเหล่านี้คือสิ่งที่จะพาลูกค้าไปยังหน้าเพจที่เราต้องการนำเสนอให้พวกเขาจริงๆ และไม่ควรจะใส่แบบฟอร์มให้ลูกค้ากรอกอะไรเพิ่มเติมในอีเมลล์นี้ (อย่าลืมว่านี่คืออีเมลล์ที่ส่งมาเพื่อขอบคุณสำหรับการสมัคร หรือการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จากเราเท่านั้น) นอกจากนั้นในอีเมลล์แบบนี้ไม่ควรเขียนอะไรที่ซับซ้อนมากเกินไป อย่าลืมว่าผู้อ่านไม่ได้สมัครมาเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับแบรนด์ของเรา แต่พวกเขาสมัครมาเพราะต้องการข้อมูลบางอย่าง สิ่งที่น่าสนใจและมีประโยชน์ ดังนั้น อย่าลืมให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการและมองหาอยู่ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านแล้วพวกเขาจะเริ่มมองหาเองค่ะว่าอีเมลล์นี้ถูกส่งมาจากที่ไหน แบรนด์อะไร
แล้วอีเมลล์แบบไหนล่ะที่เราจะสามารถอธิบายหรือบอกข้อมูลแบรนด์ธุรกิจของเราได้โดยผู้อ่านไม่ต้องส่ายหน้าหนี มาดูในหัวข้อต่อไปเลยค่ะ

Welcome Email
อีเมลล์ต้อนรับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สมบูรณ์แบบมากๆ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลกับผู้ที่สมัครรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์, ส่วนลดสินค้า และขอเสนอบริการอื่นๆ ของเราที่มีให้ โดยในอีเมลล์ลักษณะนี้ควรประกอบไปด้วยสิ่งที่เราต้องการนำเสนอให้กับผู้อ่าน และในขณะเดียวกันคุณสามารถใช้อีเมลล์นี้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอให้ผู้อ่านได้รู้จักแบรนด์หรือธุรกิจของคุณไปพร้อมๆ กันด้วย โดยคุณจะใช้กลวิธีนำเสนอส่วนลดพิเศษให้สำหรับผู้ที่ได้รับอีเมลล์เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนลดสินค้าและบริการของแบรนด์คุณก็ได้ อย่างไรก็ตามหากคุณส่ง Welcome Email ให้กับลูกค้าเพื่อโฆษณาสินค้าและบริการของคุณแล้วล่ะก็ อย่าลืมที่จะบอกวิธีการใช้งานและเงื่อนไขต่างๆ ให้กับผู้อ่านด้วย
เคล็ดลับเด็ดๆ : ความประทับใจแรกนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นออกแบบเนื้อหาและดีไซน์ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านของคุณด้วยนะ

นี่ก็เป็นอีกรูปแบบของการทำการตลาดโดยใช้อีเมลล์ที่ตลาดปัญญานำมาแบ่งปันกันในวันนี้ค่ะ สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำการตลาดด้วยอีเมลล์นั้นไม่ใช่เพียงดีไซน์หรือรูปลักษณ์ที่สวยงาม แต่สิ่งสำคัญคือ “คุณค่า” ที่ผู้อ่านได้รับจากอีเมลล์ของเราค่ะ เพราะหากอีเมลล์ของเราไม่มีคุณค่า และไม่ก็ให้เกิดประโยชน์อะไรกับผู้อ่านเลย เสนอขายของแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นอย่างนั้นแล้วล่ะก็การันตีได้เลยว่าวันหนึ่งอีเมลล์ของเราต้องถูกบอกยกเลิกการรับอีเมลล์หรือถูกย้ายไปอยู่ในกล่องถังขยะอย่างแน่นอน ดังนั้น อย่าลืมเช็คโดยด่วนเลยว่าอีเมลล์ที่ปัจจุบันเราส่งให้ลูกค้าอยู่นั้นเข้าข่ายอีเมลล์ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นหรือไม่ หากเข้าข่ายรีบนำกลวิธีเหล่านี้ไปใช้ในการปรับแผนการตลาดด้วยอีเมล์ของทุกท่านกันนะคะ แต่ถ้าหากทำได้ดีอยู่แล้ว ลองดูว่ามีอะไรที่เราจะสามารถเพิ่มเติมเข้าไปให้การตลาดด้วยอีเมลล์นั้นสมบูรณ์แบบได้มากขึ้นกว่าเดิมบ้าง
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านและช่วยให้ธุรกิจของท่านเติบโตได้อย่างมั่นคงค่ะ
สำหรับใครที่สนใจความรู้ใหม่ ไอเดียในการทำธุรกิจ การสร้างอาชีพ การตลาดออนไลน์ การพัฒนาตัวเอง ที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จสามารถแนะนำหัวข้อที่อยากรู้เข้ามาได้โดยการ comment ไว้ด้านล่างนี้ หรือในช่องทางโซเชียลมีเดียของเรา ไม่ว่าจะเป็นที่ แฟนเพจตลาดปัญญา หรือลงทะเบียนสมัครสมาชิกเว็บไซต์ (ฟรี) >>คลิก!สมัครสมาชิก<<
ต้องการอ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม >> คลิก
แล้วพบกันใหม่ ในบทความหน้านะคะ
บรรณาธิการ : ตลาดปัญญา.com แหล่งรวมคอร์สออนไลน์คุณภาพ