
ในยุคปัจจุบันนี้เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการสื่อสารไร้สาย และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง เฟสบุ๊ค (Facebook) นั้นมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ในด้านการแบ่งปันข้อมูลมหาศาล การสร้าง/บริหารความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งในครอบครัว และนอกครอบครัว ทั้งการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนเก่าที่ไม่พบกันมานานการติดต่อสื่อสารกับญาติพี่น้องที่ไม่ได้ติดต่อกันมานาน หรืออยู่ห่างไกลกันมาก จนไม่สามารถพบหน้ากันได้ หรือแม้กระทั่งการที่ผู้ปกครองสามารถใช้เฟสบุ๊คสื่อสาร/ตรวจสอบพฤติกรรมของกับ บุตร-ธิดา และเพื่อนๆ ของลูกได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งผมได้ไปพบกับข้อมูลที่น่าสนใจ ชื่อ “How Families Interact on Facebook” ของ Moira Burke ซึ่งมีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน เฟสบุ๊ค (Facebook) ระหว่างผู้ปกครอง กับ บุตร-ธิดา ผ่านข้อความที่โพส (Post) และการแสดงความคิดเห็น (Comment) ของผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค ที่ระบุความสัมพันธ์ว่าเป็นผู้ปกครอง และบุตร-ธิดา
จากข้อมูลที่ได้รับการสำรวจในเชิง Data Science ของ เด็กกับผู้ปกครองที่กลายเป็นเพื่อนกันบน Facebook จากการวิเคราะห์พบว่าเด็กในช่วงอายุ 13-17 ปี นั้นเด็กอายุ 13 ปี มากกว่า 65% จะส่งคำร้องขอเป็นเพื่อน (initial friends request) ไปให้ผู้ปกครองแต่จำนวนครั้งจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น…ซึ่งกลุ่มของวัยรุ่นช่วงอายุตั้งแต่ 17- 25 ปีนั้นจะส่งจะส่งคำร้องขอเป็นเพื่อนไปหาผู้ปกครองอยู่ที่ 40% โดยส่วนมากจะเป็นผู้ปกครองจะเป็นผู้ส่งคำร้องขอเป็นเพื่อนไปหาลูกๆด้วยตัวเองมากกว่า แต่พอมาเป็นกลุ่มของบุตร-ธิดาช่วงที่วัย 30 – 40 ปี นั้นส่งคำขอเป็นเพื่อนไปหาผู้ปกครองกระเตื้องขึ้นคิดเป็น 50%
ในส่วนของการสื่อสารกันบน “เฟสบุ๊ค Facebook” นั้น ถ้าแบ่งกันตามเพศของลูกแล้วแสดงให้เห็นว่า ลูกสาวนั้นจะโพสข้อความและตอบกลับข้อความบนไทม์ไลน์ของผู้ปกครองซึ่งตรงข้ามกับลูกชายที่จะเป็นฝ่ายรับข้อความที่ผู้ปกครองส่งมาให้บนไทม์ไลน์ของตัวเอง มากกว่าส่งข้อความไปหา แถมไม่ค่อยสนใจที่จะตอบกลับอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น
การสื่อสารกันระหว่างผู้ปกครองกับลูกชาย-ลูกสาวบน Facebook นั้นนอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว ยังมีผลต่อบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว และเพื่อนๆ ที่จะมาแสดงความคิดเห็น ในรูปภาพ ในข้อความ หรือลิงค์ต่างๆ ที่แชร์ในหน้าวอลล์นั้นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะการแสดงความรู้สึกผ่านถ้อยคำนั้น จะมีผลต่อความแน่นแฟ้นของความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว
ข้อความที่ใช้ระหว่างผู้ปกครอง กับลูกชายและลูกสาว ในการใช้ Facebook นั้นจะเป็นในแนวทางที่
- ผู้ปกครองแสดงถึงความห่วงใย อย่างเช่น ดูแลตัวเองนะลูก, อย่าทำงานหนักมากนะ อย่าลืมทำ…นะ หรือ เดินทางปลอดภัย
- ผู้ปกครองส่งข้อความที่แสดงถึงความภาคภูมิใจในตัวลูกชายและลูกสาว ที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จ อย่างเช่นสบได้คะแนนดีๆ รับปริญญา แต่งงาน ได้ทำงานในบริษัทดีๆ
- สำหรับตัวลูกชาย-ลูกสาว ก็จะส่งข้อความในลักษณะ ที่ให้พ่อ แม่ รักษาสุขภาพ หรือส่งข้อความไปให้ในเทศกาลสำคัญต่างๆ หรือใน วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน
จำเป็นไหมที่ผู้ปกครองควรมี และเป็นเพื่อนกับลูกผ่าน เฟสบุ๊ค Facebook
โดยส่วนมากแล้วผู้ปกครองส่วนมากในประเทศไทยจะไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ Facebook สื่อสารกับลูกๆ หรือคนในครอบครัว เพราะเห็นเป็นเรื่องไร้สาระแต่อันที่จริงแล้วมีประโยชน์อย่างมาก…โดยเฉพาะในการเป็นผู้แอบตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของลูก หรือกิจกรรมที่เขาทำในชีวิตประจำวัน (แบบเงียบๆ)
ซึ่งคุณจะได้รู้ว่าลูกของคุณ หรือญาติๆ ในครอบครัวกำลังไปที่ไหน หรือเพื่อนชวนไปไหนโดยไม่ได้โทรบอกเวลาเขาเช็คอินผ่านสมาร์ทโฟน และในบางครั้งคุณจะได้รู้ว่าลูกของคุณเขากำลังคิด หรือกังวลใจในเรื่องใดอยู่ ซึ่งคุณจะได้เข้าไปแก้ปัญหาได้ทัน หรือให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้ หรือข้อความช่วยเหลือจากเพื่อนของลูกได้ครับ…
ซึ่งในทางกลับกันลูกๆ ก็จะได้รู้ว่าผู้ปกครองของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง กำลังเหงา กำลังมีปัญหา อยู่หรือไม่ และอะไรคือสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการจะได้จากเรานั้นเอง
มาถึงบรรทัดนี้ ท่านผู้ปกครอง และน้องๆ หนูๆ ทั้งหลายคงจะเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการใช้งานเฟสบุ๊คเพื่อความสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกัยตนในครอบครัวและคนรอบข้างครับ
แด่ความสุขและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับคนในสังคม
อนุสรณ์ เมืองศรี
Happy Life Coach at BlogPanya
ติดตามแฟนเพจของ อนุสรณ์ เมืองศรี ที่นี่
ร่วมแบ่งปันสิ่งดีกับ Blog ปัญญาด้วยการ กด like, กด Share, กด Follow หรือ Google+1 หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ใน Comment Box ด้านล่างนี้ครับ